การพัฒนาระบบด้วย Yii2: ตอนที่ 6 การปรับแต่งธีม (Theming)

ความเดิมตอนที่แล้ว ย้อนดูบทความตอนที่ 5 ได้ที่ https://www.bigdata.rmutt.ac.th/?p=1908 Theming คือ Theming คือวิธีการในการกำหนดรูปแบบการแสดงผลของระบบภาพรวมของเรา อย่างที่เราทราบว่า ปกติแล้วหน้าระบบเราจะมีส่วนการแสดงผลที่ต้องแชร์กันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นส่วนของ head หรือ sidebar หรือ footer ปกติแล้ว Framework ทั่วไป จะแยกการทำงานของ “ธีม” เป็นอีกส่วนหนึ่ง เพื่อให้นักพัฒนาสามารถกำหนดรูปแบบตามที่ต้องการได้อย่างง่ายได้ การปรับแต่งธีม (Theming) Yii2 ได้เตรียมวิธีการให้เราสามารถปรับแต่งธีมได้อย่างหลากหลาย ถ้าพร้อมแล้วสามารถทำตามคลิปด้านล่างได้เลยครับ (ถ้ายังไม่ได้ขึ้นระบบให้ย้อนไปดูบทความก่อนหน้าได้)

การพัฒนาระบบด้วย Yii2: ตอนที่ 5 การทำ migration กับ database

ความเดิมตอนที่แล้ว ย้อนดูบทความตอนที่ 4 ได้ที่ https://www.bigdata.rmutt.ac.th/?p=1900 Migration คือ Migration ถ้าให้แปลตรง ๆ ตาม dictionary แปลได้ว่า “การโยกย้าย” แต่ถ้าอยู่ใน framework จะเกี่ยวข้องกับ database เช่น การ create/alter table หรือ การ insert/update/delete data ใน table หรือ การกระทำใด ๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับระบบ database หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่งว่ากระบวนการทำ migration ใน framework คือการทำให้ database ของเรา up-to-date และสามารถแชร์ให้กับ developer ที่พัฒนาร่วมกับเรา สามารถนำไปใช้ได้ เพื่อให้ database มีลักษณะเดียวกันหรือเทียบเท่ากันในโครงสร้างหลักเสมอ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.yiiframework.com/doc/guide/2.0/en/db-migrations Read more…

การพัฒนาระบบด้วย Yii2: ตอนที่ 4 การใช้ built-in PHP web serve

ความเดิมตอนที่แล้ว ย้อนดูบทความตอนที่ 3 ได้ที่ https://www.bigdata.rmutt.ac.th/?p=1845 Built-in PHP web serve การสร้าง web server ด้วย built-in PHP บน Yii2 Framework สามารถทำได้อย่างง่าย และมีประโยชน์ในการทดสอบการทำงานอย่างง่าย และซ่อนรายละเอียดของ path ยาว ๆ ในเครื่องเราได้ (อันที่จริงแล้วตอนนำไปติดตั้งจริง หรือรันในเครื่องเราสามารถตั้งค่า vhost เพื่อ map กับ domain ได้เหมือนกัน) ทั้งนี้เราต้องคำนึงถึง template ที่เราใช้ด้วย เช่น basic template หรือ advanced template จากตอนที่ผ่านมาเราใช้เป็น advanced template ดังนั้นขั้นตอนในการใช้งาน built-in PHP web serve Read more…

การพัฒนาระบบด้วย Yii2: ตอนที่ 3 Controller Action และการปรับแต่ง Route เบื้องต้น

ความเดิมตอนที่แล้ว ใครยังไม่ได้ initail project ให้ไปดูบทความย้อนหลังได้ที่ https://www.bigdata.rmutt.ac.th/?p=1754 เข้าใจเรื่อง Controller และ Action จากรูปด้านบน ให้เราลองเปิดไฟล์ frontend\controllers\SiteController.php ขึ้นมา เพื่อดูหลักการทำงาน สังเกตได้ว่าจะมี function actionXxx() อยู่ เช่น actionIndex() เป็นต้น ปกติแล้ว Yii2 ทำการ route โดยใช้ keyword ของ function actionXxx() เป็นหลัก (ต้องพิมพ์คำว่า action นำหน้าชื่อของ function) เช่น actionIndex() ใน SiteController จะถูกเข้าถึงโดย /index.php?r=site/index ถ้าเป็น index อยู่แล้ว ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใส่ index เพิ่มเติมเข้าไป หรือพูดง่าย ๆ Read more…

การพัฒนาระบบด้วย Yii2: ตอนที่ 2 เริ่มต้น project ด้วย Advanced Template

ความเดิมตอนที่แล้ว เริ่มต้นสำหรับใครที่เข้ามาอ่านบทความนี้เป็นครั้งแรกให้ทำการติดตั้งสภาพแวดล้อมในการพัฒนาระบบให้เรียบร้อยก่อน โดยดูได้จากบทความก่อนหน้านี้ https://www.bigdata.rmutt.ac.th/?p=1647 Install Yii2 project ขั้นตอนแรกสุดให้เปิด command line ขึ้นมา และเปลี่ยน directory ไปที่ C:\xampp\htdocs ด้วยคำสั่ง จากนั้นให้ติดตั้ง Yii2 project ด้วยคำสั่ง composer ต่อไปนี้ โดยข้อความด้านขวาสุดจะเป็นชื่อของโปรเจคเรา เช่น “my_app” เป็นต้น (เครื่องเราต้องต่ออินเทอร์เน็ตด้วยนะครับ) จากนั้นระบบจะทำการสร้าง skeleton ของโปรเจคให้เราโดยอัตโนมัติ และดึงข้อมูลล่าสุดของ Yii2 มาให้เราดังรูป จากนั้นรอจนเสร็จสิ้นกระบวนการนี้ ถ้าไม่อยากใช้คำสั่งดังกล่าว เราสามารถดาวน์โหลดไฟล์จาก Archive File ได้จาก https://www.yiiframework.com/download โดยเลือก Yii 2 with advanced application template และแตก zip ตั้งชื่อโฟลเดอร์เป็นชื่อโปรเจค Read more…