ความเดิมตอนที่แล้ว

ย้อนดูบทความตอนที่ 3 ได้ที่ https://www.bigdata.rmutt.ac.th/?p=1845

Built-in PHP web serve

การสร้าง web server ด้วย built-in PHP บน Yii2 Framework สามารถทำได้อย่างง่าย และมีประโยชน์ในการทดสอบการทำงานอย่างง่าย และซ่อนรายละเอียดของ path ยาว ๆ ในเครื่องเราได้ (อันที่จริงแล้วตอนนำไปติดตั้งจริง หรือรันในเครื่องเราสามารถตั้งค่า vhost เพื่อ map กับ domain ได้เหมือนกัน)

ทั้งนี้เราต้องคำนึงถึง template ที่เราใช้ด้วย เช่น basic template หรือ advanced template

จากตอนที่ผ่านมาเราใช้เป็น advanced template ดังนั้นขั้นตอนในการใช้งาน built-in PHP web serve มีดังนี้

  1. terminal หรือ cmd เข้าไปที่ root ของ project เช่น C:\xampp\htdocs\my_app
  2. ใช้คำสั่ง php yii serve –port=8888 –docroot=”frontend/web/” สำหรับเปิด port 8888 บน frontend
  3. เปิด terminal หรือ cmd ขึ้นมาอีก 1 อันตามข้อที่ 1
  4. ใช้คำสั่ง php yii serve –port=8889 –docroot=”backend/web/” สำหรับเปิด port 8889 บน backtend
php yii serve --port=8888 --docroot="frontend/web/"

php yii serve --port=8889 --docroot="backend/web/"

หลังจากนั้นให้ทดสอบการทำงานโดยเข้าไปที่ http://localhost:8888/ สำหรับหน้าแรกของ frontend และ http://localhost:8889/ สำหรับ backend จะได้ผลลัพธ์เป็นดังนี้

การใช้ built-in PHP web serve ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่ developer สามารถเลือกใช้งานได้ เพราะไม่มีความซับซ้อน และง่ายในการ debug ด้วย เหมาะสำหรับการทดสอบในกรณีต่าง ๆ